ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสมัยในหลวงรัชกาลที่7ปี1925

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสมัยในหลวงรัชกาลที่7ปี1925

ซึ่งในยุคสยามนั้นเมื่อต้องพึ่งตนเองและไม่มีสวัสดิการใดๆถ้าเศรษฐกิจไม่ดีราคาพืชตกต่ำ หรือ โดนภัยธรรมชาติเล่นงานสิ่งที่ทำได้ก็มีแค่ต้องพยายามอดออมมากขึ้นหางานอื่นทำไปด้วยชาวนานที่เดือดร้อนส่วนใหญ่จะต้องนำเอาลูกหลานไปฝากเป็นแรงงานตามบ้านคนรวย

เพื่อขอกู้เงินมาทำนาหรือไม่อย่างนั้นก็กลายเป็นอาชญากรไปเลยนี่แหละชีวิตที่ต่อรองอะไรกับใครไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงจะต้องถวายฎีกาเท่านั้น

ฎีกาส่วนใหญ่ที่ปรากฏก็จะเป็นเรื่องไม่มีที่ดินทำกินและที่มากที่สุดก็คือการขอลดหย่อนอากรค่านาประโยคสุดฮิตก็คือ การเรียกพวกเจ้าของที่ดินว่าเป็นผู้ทำนาบนหลังคนหลายฎีกาที่เขียนแสดงให้เห็นว่าสมัยนั้นก็มีปัญญาชนท้องถิ่นได้เขียนเพื่อช่วยหาทางออก เช่น อยากให้มีกองทุนกู้ยืมไปทำนา ขอให้ปรับปรุงชลประทานขอให้หาทางขายข้าวต่างประเทศเพิ่มอีกจะได้ราคาข้างดีๆบางคนก็ไปไกลถึงขั้นชี้แจงว่ารัฐต้องซื้อข้าวชาวนาทั้งหมด

เพื่อเป็นการรับประกันให้ชาวนามีเงินทุนหมุนเวียนคิดไปคิดมาแล้วก็เหมือนคุ้นๆกับในสมัยนี้เราก็คงจะเรียกว่าประกันราคาข้าวหรือจำนำข้างแน่ๆเลย

ถ้ารัฐไม่มีเงินบางคนก็บอกให้ออกใบบอนด์แบบเปลี่ยนมือผู้ถือได้ที่ทุกวันนี้เรียกว่าหุ้นกู้ก็คือต้องการให้รัฐนั้นกู้เงินจากราษฎรและจ่ายดอกเบี้ยให้ถือว่าก้าวหน้ามากๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการขอให้แทรกแซงตลาด

ซึ่งผู้ปกครองสยามมองมุมเศรษญกิจแบบเสรีมากกว่าเมื่อต้องการขัดกันเสียงเรียกร้องเหล่านี้ก็ถูกเก็บเข้าลิ้นชักไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เฉยๆ

ในหลวงรัชกาลที่7ทรงขึ้นครองราชย์ก่อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกเพียงไม่กี่ปี ทรงขึ้นครองราชย์ในปี1925The Great Depression เริ่มต้นประมาณปี1929 พระองค์ตระหนักในวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความเดือนร้อนของประชาชนทรงลดภาษีอากรนาถึง20%เป็นเวลาหนึ่งปีและเปลี่ยนไปขึ้นภาษีที่เก็บจากชนชั้นกลางแทน เช่น ภาษีรายได้ภาษีจากเงินเดือดหรือค่าจ้างเก็บภาษีบ้านภาษีที่ดินแต่ผู้ที่มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของธุรกิจการค้ากลับได้ผลกระทบน้อยสุด คนชั้นสูง เจ้านาย ขุนนาง พ่อค้าชาวต่างชาติกลับได้รับผลกระทบน้อย

ผลกระทบที่เป็นโดมิโนกลับไปโดนชนชั้นกลางอาชีพราชการที่เคยมั่นคงก็ไม่มั่งคงเพราะเริ่มมีการปรับลดข้าราชการชั้นกลางและล่างมากขึ้นการที่รัฐบาลในตอนนั้นพยายามปรับดุลการคลัง

โดยลดรายได้ของข้าราชการลงนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มากถึงขั้นที่ว่า พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงลาออกจากตำแหน่งในช่วงกลางปี พ.ศ.2474

ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนสาเหตุเป็นเพราะท่านรู้สึกเสียหน้าที่ไม่สามารถเลื่อนขั้นและขึ้นเงินเดือนให้นายทหารจำนวน90นายได้ความขัดแย้งนี้ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดช ถึงกับถูกเพ่งเล็งว่าจะตัดสินใจอะไรที่เป็นภัยกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลยหรือไม่

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  nowbet