นายปรีดี พนมยงค์ ถึงไม่มีอยู่ในชื่อประวัติศาสตร์

นายปรีดี พนมยงค์ ถึงไม่มีอยู่ในชื่อประวัติศาสตร์

หลังการลี้ภัยการเมืองไปยังต่างประเทศเกือบครึ่งชีวิต พฤษภาคม 2529 ปรีดี พนมยงค์ มีโอกาศกลับสู่แผ่นดินเกิดเป็นครั้งแรก

แม้เมื่อได้สิ้นชีวิตไปแล้วแต่สถานะและบทบาทของรัฐบุรุษอาวุโสผู้นี้ยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคมไทยบ้างก็เห็นว่าเขาคือผู้ก่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติทั้งเป็นกำลังหลักของคณะราษฎรผู้เสี่ยงชีวิตเพื่อแลกระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี2475คิดเค้าโครงเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายเพื่อคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงและเป็นผู้นำกระบวนการเสรีไทยช่วยประเทศไทยให้พ้นสถานะผู้แพ้ในมหาสงครามโลกครั้งที่2

แต่ทว่าอีกกลุ่มกลับเชื่อว่าบุรุษผู้นี้มุ่งร้ายต่อประเทศนิยมลิทธิคอมมิวนิสต์และที่สำคัญได้อยู่เบี้องหลังเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่8

เหตุใดที่ ปรีดี พนมยงค์ จึงได้เป็นชื่อที่หลายคนเคารพเทิดทูนขณะที่หลายคนชิงชังรังเกียจเหตุใดเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เข้าได้เข้าไปเกี่ยวข้องจึงแทบไม่ไปปรากฏในหลักสูตรการศึกษาเหตุใดหลายคนจึงต้องการลบชื่อนี้ออกจากประวัติศาสตร์และเหตุใดเขาจึงกลายไปเป็นบุคคลที่รัฐบาลแทบทุกยุคสมัยพยายามที่จะลืมมันโดยตลอด

กล่าวได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญยิ่งอีกครั้งหนึ่งนับตั้งแต่พุทธศักราช2400เปนต้นมา

ระบบเศรษฐกิจแบบเก่าถูกโค้นล้มการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบระบบเศรษฐกิจทั้งทุนนิยมและสังคมนิยมคือพลังใหม่ที่เติบโตขึ้นทดแทนอย่างรวดเร็วคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ

ทว่าพลังอันแข็งแกร่งของมันค่อยๆกวาดกลืนโลกเก่าไปตามกฎธรรมชาติไม่เว้นแม้แต่สยามประเทศที่เคยสุขสงบมาเนินนานกิจกรรมทางวัฒนธรรมภายในวงศ์เจ้านายชั้นสูงดำเนินไปอย่างคึกคักนับตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าวงศ์เจ้านายชั้นสูงจำนวนมากต่างก็มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเช่นการเล่นโขนนครหรือการสะสมของเก่า

เมื่อวงศ์เหล่านี้นิยมกิจกรรมชนิดใดเจ้านายชั้นล่างก็จะดำเนินตามอย่างคึกคักลิทธิล่าอาณานิคมที่ได้แผ่อิทธิพลมาถึงทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเริ่มปฏิรูปสยาม

โดยรวบอำนาจที่เคยอยู่ในมือขุนนางและเจ้าเมืองเข้าสู่ส่วนกลางส่งผลทำให้เวลากว่า40ปีนับจากพุทธศักราช2435เป็นช่วงที่อำนาจถูกปกครองรวมศูนย์เข้าสู่ราชสํานักส่วนกลางมากที่สุดในประวัติศาสตร์สยามในการนี้กลไกลที่ราชสำนักใช้สะกดขุนนางข้าราชการอย่างได้ผลคือการเน้นความสำคัฐของชาติกำเนิดและความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

กระทั่งกล่าวได้ว่าวงศ์เจ้านายในกรุงเทพมหานครคือศูนย์กลางทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมของบ้านเมืองในยุคนั้น

สถิติหนี้สินของเกษตรกรสยามซึ่งได้สำรวจเมื่อปี2473ถึง2474นี้สะท้อนความขัดสนของเกษตรกรได้เป็นอย่างดีนอกจากภัยธรรมชาติและโจรผู้ร้ายที่มีอย่างชุกซุมแล้วภาษีอากรรูปแบบต่างๆแรงทั้งบังคับเกณฑ์แรงงานนับว่าเป็นมูลเหตุที่สำคัญแห่งความขัดสน

 

สนับสนุนโดย  ทาง เข้า dewabet