นายปรีดี พนมยงค์ คนสำคัญของโลก

นายปรีดี พนมยงค์ คนสำคัญของโลก

ในช่วงเวลา50ปีที่ผ่านมาหรือกว่านั้น นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นทั้งนักปฏิวัติ ปัญญาชน รัฐบุรุษและผู้ลี้ภัยทางการเมืองมีบทบาทอันสำคัญแต่ก็เป็นบทบาทที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ในวงการเมืองของประเทศไทย

เขาได้ถือกำหนดเมื่อปี2443และเริ่มเด่นขึ้นมาในฐานะนักเรียนกฎหมายที่ชาญฉลาดได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อกรุงปารีสในช่วงนั้นเองเขาได้กลายเป็นผู้นำทางความคิดของนักเรียนไทยกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง

ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นในปี2475คณะราษฎรได้ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และนายปรีดีเป็นผู้ที่รับผิดชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยขึ้นมาในโอกาสครบรอบ50ปีของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้น ในประเทศไทยเมื่อปีกลาย

นายปรีดี ได้ให้สัมภาษณ์บีบีซี โดนตอนหนึ่งได้พูดถึงความหมายของคำว่าประชาธิปไตยคืออะไรมันคือ “ระบบปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ปวงชนแสดงมติโดยวิธีประชามติอย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งปวงชนแสดงมติโดยผ่านรัฐสภา

ซึ่งสมาชิกทุกคนของรัฐสภาเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากราษฎรสำหรับประเทศไทยที่มีพลเมืองมากนั้นก็ควรถือวิธีที่สองเป็นหลักประกอบด้วยวิธีที่หนึ่งในบางกรณี” แต่ความคิดของนายปีดีนั้นก้าวไกลกว่าบรรดาสมาชิกส่วนใหญ่ในคณะราษฎร

ในปี2476เขาร่างแผนการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศไทยขึ้นมาเสียใหม่และแผนการนี้เองทำให้เขากลายเป็นเป้าของความขัดแย้งถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และต้องออกไปอยู่ต่างประเทศต่อมาได้มีการทำรัฐประหารและนายปรีดีได้กลับกรุงเทพมหานครหวนสู่วงการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

คราวนี้ได้เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีคลัง ตามลำดับในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2ขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งอยู่นั้น นายปรีดี พนมยงค์ก็มุ่งมั่นพยายามที่จะปรับปรุงระบบราชการของไทยให้ทันสมัยและเป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวมแต่ความคิดของเขาทำให้เกิดการชิงดีชิงเด่นกันขึ้นมาภายในคณะราษฎรอันมีสมาชิดส่วนใหญ่เป็นทหารภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 

ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นความแตกแยกระหว่างบุคคลทั้งสองนี้ก็เห็นชัดขึ้น

เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจร่วมมือกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับสหรัฐและอังกฤษนายปรีดี พนมยงค์ได้ถูกปลดจากคณะรัฐมนตรีและตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เขาได้ใช้ตำแหน่งนี้ให้เป็นประโยชน์โดยจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น

ดังนั้นเมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงครามเขาก็กลับมามีอำนาจอีกและได้ลบล้างมลทินของประเทศไทยในฐานะผู้ร่วมมือกับญี่ปุ่นไปได้แต่ช่วงแห่งความมีชัยนั้นสั้นพอนายปรีดีได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี2489ก็เกิดกรณีสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นและคดีนี้ก็ยังเป็นคดีปริศนาอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้